openGlobalRights-openpage

การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าและบทบาทของชาตินิยมแห่งพระพุทธศาสนา

Phone_0.jpg

พม่าเริ่มทำการปรับปรุงพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่การเมืองและเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หลังจากที่ปกครองแบบเผด็จการมาเป็นเวลาหลายสิบปี ในขณะที่การใช้ความรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้ความเชื่อมั่นในประเทศลดน้อยลง แต่ที่น่าแปลกใจก็คือการจลาจลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งได้รับการสนับสนุนจากพระภิกษุสงฆ์ จากการสังเกต คุณ โหว่ย หยั่น โพง English, မြန်မာဘာသာ 

Wai Yan Phone
16 April 2014

ในมุมมองโดยคนทั่วไปเห็นว่าพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนรากฐานความสงบ ดังนั้นเป็นที่น่าสะเทือนใจที่ได้เห็นพระภิกษุสงฆ์ในประเทศพม่ามีบทบาทสำคัญอย่างเห็นได้ชัดในการต่อต้านชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม

อย่างไรก็ตาม ย้อนหลังไปในปี ค.ศ. 2007 เมื่อพระภิกษุสงฆ์หลายหมื่นรูปและประชาชนผู้ประท้วงรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลพม่าโดยเดินขบวนอย่างเสรีบนถนนในเมืองหลวงเพื่อขับไล่รัฐบาลทหารพม่า แต่เมื่อไม่นานมานี้พม่าก็ทำให้คนทั้งโลกประลาดใจและเริ่มจะมีความหวังเมื่อพม่าเริ่มจะถอยตัวเองจากการเป็นรัฐประหาร ตามด้วยการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2010 และ 2012 ในขณะนั้นมีลัทธิอนุรักษ์นิยมแห่งชาติกำเนิดขึ้น ทำให้การดำเนินการประท้วงในประเทศพม่าซับซ้อนมากขึ้น เมื่อมีการประท้วงอีกครั้งโดยมีกลุ่มพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำ แต่ว่าวัตถุประสงค์ของการประท้วงในครั้งนี้ไม่ได้ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า แต่กลับต่อต้านศาสนาอิสลามแทน

โดยหลักการแล้ว Burma’s Buddhist Sangha คณะสงฆ์ ได้ปลีกตัวออกห่างจากศาสนากิจ ดังนั้นบทบาทคณะสงฆ์จึงได้ถูกผลักดันให้มีส่วนร่วมในหน่วยงานที่ทำงานด้านการเมืองและเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมในพม่า คณะสงฆ์ได้ก้าวสู่เส้นทางด้านการเมืองเพราะคิดว่าพระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่ปกป้องประเทศที่มีพุทธศาสนิกชนเป็นเอกลักษณ์

ชาตินิยมและพระพุทธศาสนามีประวัติร่วมกันมายาวนานในประเทศพม่า จึงทำให้คณะสงฆ์มีบทบาทนำในหมู่พระภิกษุสงฆ์และมีอิทธิพลมากในสังคมพุทธศาสนิกชนชาวพม่า 

พระภิกษุสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของประชาชน ตั้งแต่อังกฤษผนวกพม่าให้เป็นหนึ่งเดียวในศตวรรษที่ 19 การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวพุทธเป็นเวลาหลายสิบปี รวมทั้งการล่มสลายของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ถูกยกเลิกโดยชาวอังกฤษ เพราะโรงเรียนศาสนาคริสต์ได้แพร่หลายในครอบครัวที่ร่ำรวย รวมทั้งแรงงานชาวอินเดียและชาวมุสลิมจากประเทศอินเดียและบังคลาเทศได้อพยพเข้ามาในประเทศพม่าเพิ่มมากขึ้น 

ทิศทางการย้ายถิ่นเป็นเหตุให้มีการกระตุ้นทัศนคติที่ต่อต้านชาวอินเดียมากขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างในสังคม ชาวพุทธอ้างว่าชาวอินเดียทำให้เกิดการผูกขาดทางตลาด ด้วยเหตุนี้ความกดดันทางสังคมได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อชาวมุสลิมที่มาจากรัฐ เบงกอลประเทศอินเดียเริ่มแต่งงานกับหญิงพม่า ซึ่งการแต่งงานระว่างคนต่างเชื้อชาตินั้นถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ปกติในชาวมุสลิมที่ศาสนาอนุญาตให้มีภรรยาหลายคน หญิงพม่าที่แต่งานกับชาวมุสลิมจะผันตัวเองมานับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นชาวมุสลิม ประเด็นนี้ทำให้พระภิกษุสงฆ์ที่นิยมลัทธิชาตินิยมได้ยกมาอ้างอย่างกังวลว่า การเพิ่มจำนวนประชากรมุสลิมนั้นจะมีอิทธิพลมากขึ้น ถึงแม้ว่าประชากรมุสลิมจะมีน้อยนิดเมื่อเทียบกับประชากรชาวพุทธที่เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม 

มีการต่อต้านชาวอินเดียและต่อมาการจลาจลก็ได้รุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึงแม้จะมีชาวมุสลิมครึ่งหนึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเมืองย่างกุ้งเมืองหลวงของพม่า ได้มีการนองเลือดเกิดขึ้นในสงครามครั้งที่ 2 ในรัฐอาระกัน ทางทิศตะวันตกชายแดนพม่ากับบังคลาเทศ เมื่อไม่นานมานี้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็ได้เข้าร่วมในเหตุปะทะกับชาวมุสลิมในเมืองมัณฑะเลย์ ปี ค.ศ. 1997 เมืองตองู ปี ค.ศ. 2001 และจยอกแส ปี ค.ศ. 2003 การจลาจลได้ลุกลามไปอย่างรวดเร็วเป็นวงกว้างในรัฐอาระกัน ในปี ค.ศ. 2012 การจลาจลที่เกิดขึ้นเกือบทุกครั้ง มีรายงานว่าพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมีส่วนร่วมก่อเหตุจลาจลเผาทำลายมัสยิดและทำลายข้าวของมุสลิม  

ผู้เห็นเหตุการณ์หลายรายเล่าว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น กลุ่มสมาชิกคณะสงฆ์มีบทบาทสำคัญที่จุดฉนวนไฟเพื่อมีการต่อต้านชาวมุสลิม ถึงแม้มีพระภิกษุสงฆ์จำหนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการต่อต้านก็ตาม แต่สมาชิกคณะสงฆ์ทั้งหลายได้กระจายข่าวความกังวลและมีความคิดที่ว่า ชาวมุสลิมฉกชิงหญิงพม่าและปล่อยข่าวลือที่ว่าชาวมุสลิมได้รับเงินแลกกับการแต่งงานกับหญิงพม่า แต่เรื่องที่พระภิกษุสงฆ์ได้รับตำแหน่งสูงในสังคมนั้น ไม่มีการตั้งคำถามอย่างเปิดเผยโดยหน่วยรัฐใดและประชาชน อีกอย่างหนึ่งกฎหมายสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 1982 ได้ตัดสิทธิชาวโรฮิงยา 1 ล้านคนและชาวอินเดียที่เกิดในประเทศพม่า รวมทั้งพลเมืองจีน นั่นแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องประชาชนที่ไม่ใช่ชาวพุทธ   

พระภิกษุสงฆ์มีการบรรยายการปฏิบัติต่อต้านชาวมุสลิมตั้งแต่เรื่องเล็กๆจนถึงขั้นรุนแรง ดังเช่น เจ้าอาวาส วิน ตู่ ละ จากวัดมะโซ หยิ่นวัดที่มีชื่อเสียงในเมืองมัณฑะเลย์ เขาเป็นพระภิกษุสงฆ์หัวรุนแรง ก่อนหน้านั้นทางรัฐได้สั่งจำคุกเจ้าอาวาส วีน ตู่ ละในปี ค.ศ. 2003 ข้อหาก่อความไม่สงบในการต่อต้านชาวมุสลิมและ ต่อมาเขาก็ได้ถูกปล่อยตัวในปี ค.ศ. 2012 เขาได้ปฏิเสธคำกล่าวหาโดยอ้างว่า เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นและเขาแค่เทศนาปกติเพื่อที่จะปกป้องรักษาพระพุทธศาสนา แต่ว่าบทสวดของเขาได้เรียกร้องเพื่อให้มีการแบ่งแยกชาวมุสลิม เช่นการคว่ำบาตรร้านค้าชาวมุสลิมและปลูกฝังความคิดเพื่อที่จะกีดกันการแต่งงานกับชาวมุสลิม นิตยสาร Time จึงให้ฉายาเขาว่า “พุทธก่อการร้าย”

พระภิกษุสงฆ์บางรูปใช้วิธีที่ยืดหยุ่นเพื่อที่จะหาทางแก้ปัญหาที่ดีกว่า แม้กระนั้นก็ตามพระบางรูปได้เสนอว่า ถ้าไม่ใช้มาตรการ การปกป้องที่เด็ดขาด พระพุทธศาสนาก็จะสูญหายได้ พวกเขาได้ยกประเด็นการสาบสูญพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถานและอินโดนิเซีย นักวิชาการหลายท่านได้อ้างว่า ศาสนาอิสลามสมควรถูกตำนิที่มีส่วนทำให้ศาสนาพุทธสาบสูญในหลายๆ ประเทศ ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์หลายท่านให้ตัวอย่างเช่นกันว่า เป็นเพราะชาวมุสลิมก่อกวนชาวพุทธ พวกเขายังได้แสดงความกังวลอีกว่า ประชากรมุสลิมมีการเติบโตเร็วกว่าประกรชาวพุทธและยังมีเรื่องการอพยพจากประเทศบังคลาเทศที่เป็นเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์หัวรุนแรงหรือเสรีนิยมก็ตาม พวกท่านเห็นว่าประเทศพม่าและชาวพุทธต้องต่อต้านศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด

Phone_0.jpg

Thousands of Buddhist monks protest over the Organisation of the Islamic Conference (OIC) opening an office in Myanmar. Htoo Tay Zar/Demotix. All Rights Reserved.

ท่ามกลางความหวาดกลัวและประชากรที่มีแนวความคิดที่เป็นชาตินิยมเพิ่มขึ้น กลุ่มขณะสงฆ์ที่มีอิทธิพลและประชาชนทั่วไปเริ่มที่จะรวมตัวกันต่อต้านอิทธิพลของชาวมุสลิม เจ้าหน้าที่หลายท่านจากหน่วยรัฐเช่น รัฐมนตรีภายในประเทศ คุณ ซาน ซิ่นได้ปกป้อง เจ้าอาวาส วีน ตู่ ละและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายที่ต่อต้านชาวมุสลิม ประเทศที่ควบคุมโดยรัฐบาลอย่างเคร่งครัดและยาวนานนี้ สังเกตเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ทางรัฐส่งเสริมยุทธวิธีที่หนุนหลังโดยจัดให้มีคำบรรยายต่อต้านชาวมุสลิมอย่างเปิดเผย

แม้กระทั่งในอดีตพระภิกษุสงฆ์ที่เคยวิจารณ์รัฐบาล ยังได้พุ่งตัวเองและหันไปสนับสนุนการเคลื่อนไหวของพุทธชาตินิยม ที่เห็นได้ชัดคือ เจ้าอาวาส ตี่ ตะ กู่ ผู้ดูแลมหาวิทยาลัยเผยแพร่ศาสนาพุทธตี่ตะกู่ ในมัณฑะเลย์และเป็นผู้ที่เข้าร่วมรณรงค์โครงการการกุศล เขาเคยประณามรัฐบาลพม่าอย่างกล้าหารหลังจากที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงทำลายกลุ่มประชาชนต่อต้านรัฐบาลในปี ค.ศ. 2007 แม้กระนั้นก็ตาม เขาได้สนับสนุนกฎหมายการสำรวจสำมโนประชากรอย่างกว้างขวางในพม่า ดังได้อ้างอิงจากหนังสือ รัดตะบ่าละมิ่นขุ่นมย่า หนังสือที่ตีพิมพ์เป็นภาษาพม่า ในนั้นเจ้าอาวาส ตี่ ตะ กู่ได้บอกไว้อย่างเปิดเผยว่า เมื่อพูดถึงเรื่องความอยู่รอดของชาติ "ความปลอดภัยของชาติต้องมาก่อนสิทธิมนุษยชนเสมอ” สังเกตเห็นได้ว่า “แม้กระทั่งสหรัฐยังให้ความสำคัญความมั่นคงของชาติเหนือกว่ามาตรฐานสิทธิมนุษย์ชน" 

การสัมมนาพระภิกษุสงฆ์ที่จัดขึ้นในย่างกุ้งปีที่แล้ว ได้มีการเสนอในรัฐสภาเพื่อออกกฎหมายบังคับให้ชายที่นับถือต่างศาสนาเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธแทนหากเขาต้องการแต่งงานกับหญิงที่นับถือศาสนาพุทธ หากไม่ทำตามต้องถูกจำคุก เกี่ยวกับเรื่องนี้ถึงแม้ว่านักวิชาการหญิงหลายท่านออกมาต่อต้านการนำเสนอโดยเห็นว่า กฎหมายนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตาม แต่ก็มีผู้สนับสนุนทั้งหลายอ้างว่ามีประชาชนหลายล้านคนลงนามในอุทธรณ์ เพื่อแสดงให้รัฐสภาเห็นว่าพวกเขาสนับสนุนการร่างกฎหมายนี้

ไม่ใช่ว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปจะเห็นด้วยกับการที่เพื่อนเขามีส่วนร่วมทางการเมือง เมื่อสื่อได้สำภาษณ์พระภิกษุสงฆ์ ปะ ตั่น ทะ พารณะ วรรธนะ ผู้นำจากการปฏิวัติผ้าเหลือง ในปี ค.ศ. 2007 เขาได้กล่าวว่า “เราไม่สามารถคิดเอนเอียงทางศาสนาได้ ถ้าเราทำเราก็จะกลายเป็นชาติที่มีระบบการปกครองที่ยืดถือพระเจ้าเป็นหลัก เราก็จะหวนกลับไปสู่ยุคที่ปกครองโดยระบบศักดินา” แต่พระภิกษุสงฆ์หัวรุนแรงบางรูปถอยห่างออกจากความคิดนี้ เพราะได้รับอิทธิพลจากเจ้าหน้าที่หน่วยรัฐและรัฐสภาผู้ร่างกฎหมายวางแผนร่วมกันยื่นร่างกฎหมายการแต่งงานระหว่างต่างศาสนาโดยมีพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายให้พรเพื่อกฎหมายนี้จะได้มีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น 

ความคืบหน้าเพื่อสันติภาพในพม่าและความเจริญในหมู่เหล่าชนเผ่าที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมยังเป็นที่สงสัยตราบเท่าที่ความกลัว ความเกลียดชังและความแบ่งแยกยังซ่อนอยู่ในความเป็นชาตินิยม ทั้งพระภิกษุสงฆ์และประชาชนในสังคมต้องถามตัวเองแล้วว่าเอกลักษณ์ประจำชาติแบบไหนที่เขาต้องการในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม เพราะสันติภาพ ความมั่งคั่งและความเป็นประชาธิปไตยไม่ได้มาจากเอกลักษณ์ประจำชาติที่มีชาติพันธุ์อันใดอันหนึ่งหรือศาสนาอันใดอันหนึ่งเป็นใหญ่ ในอนาคตเอกลักษณ์ประจำของประเทศพม่าควรที่จะเป็นไปในแบบ การรวมกันเป็นหนึ่งเดียวโดยเคารพความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ไม่ควรให้ความสำคัญให้ศาสนาพุทธมีอิทธิพลเหนือศาสนาและวัฒนธรรมอื่นๆในประเทศพม่า

EPlogo-ogr-4_3.png

 

Had enough of ‘alternative facts’? openDemocracy is different Join the conversation: get our weekly email

Comments

We encourage anyone to comment, please consult the oD commenting guidelines if you have any questions.
Audio available Bookmark Check Language Close Comments Download Facebook Link Email Newsletter Newsletter Play Print Share Twitter Youtube Search Instagram WhatsApp yourData